มทร.พระนคร ร่วมเป็นที่ปรึกษากลุ่ม OTOP จังหวัดอ่างทอง ในการประกวดผลงานเครือข่ายองค์ความรู้จังหวัดดีเด่น ปี 2557

  ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ  พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ในฐานะเป็นคณะกรรมการเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge-Based OTOP : KBO) จังหวัดอ่างทอง และได้ส่งเสริมสนับสนุนกลุ่ม OTOP จังหวัดอ่างทอง มาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ได้รับเชิญจากจังหวัดอ่างทองให้เป็นที่ปรึกษาและให้ข้อมูลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม OTOP ในการประกวดผลงานเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge-Based OTOP : KBO) จังหวัดดีเด่น (OTOP KBO CONTEST) ปี 2557 โดยส่งผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรีสหกรณ์เกษไชโย ตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เข้าประกวดเป็นตัวแทนของจังหวัดอ่างทอง และร่วมนำเสนอนวัตกรรมที่เป็นผลจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากสมุนไพร ระหว่างวันที่ 10-13 สิงหาคม 2557 ณ Continue reading

มทร.พระนคร การติดตามประเมินผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี (เพิ่มเติม) สมุนไพรแปรรูปกลุ่มสตรีสหกรณ์เกษไชโย

  ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ  พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนา ดำเนินการติดตามประเมินผลและถ่ายทอดเทคโนโลยี (เพิ่มเติม) โครงการการพัฒนาต่อยอดสมุนไพรแปรรูปของกลุ่มสตรีสหกรณ์เกษไชโยเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ได้แก่ การทำมะกรูดแปลงร่าง การออกแบบบรรจุภัณฑ์ และให้คำปรึกษาในการเตรียมงานเพื่อเข้าร่วมงานประกวดผลงานเครือข่ายองค์ความรู้ (Knowledge – Based OTOP : KBO)จังหวัดดีเด่น (OTOP KBO CONTEST) ปี 2557 ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 19 สิงหาคม 2557 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 1 – 3 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี ระหว่างวันที่ Continue reading

มทร.พระนคร ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังจากเนื้อลูกตาลสุก เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร

  ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ และคณะ จากสถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.พระนคร ลงพื้นที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผลงานวิจัย เรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ขนมปังจากเนื้อลูกตาลสุกเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำผลิตภัณฑ์ขนมอบจากเนื้อลูกตาลสุก ได้แก่ ขนมปังปอนด์เนื้อลูกตาลสุก โดนัทเนื้อลูกตาลสุก ขนมปังเนื้อลูกตาลสุกไส้หมูหยอง ขนมปังเนื้อลูกตาลสุกไส้กรอก ขนมปังเนื้อลูกตาลสุกไส้ลูกเกด ขนมปังเนื้อลูกตาลสุกไส้มะพร้าว ขนมปังเนื้อลูกตาลสุกไส้ลูกตาล ขนมปังเนยแบบเยอรมันจากเนื้อลูกตาลสุก และขนมปังเค้กเนื้อลูกตาลสุก  ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 40 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตขนมปังโดยใช้เนื้อลูกตาลสุกเป็นส่วนประกอบ ศึกษาอายุการเก็บรักษาขนมปังที่มีเนื้อลูกตาลสุกเป็นส่วนประกอบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยสู่ชุมชนเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป้าหมาย โดยดำเนินการเมื่อเร็วๆนี้ ณ กลุ่มชุมชนบ้านห้วยทรายใต้ ตำบลชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

มทร.พระนคร ลงพื้นที่โครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน กิจกรรมที่ 2 : กิจกรรมสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยี

มทร.พระนคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่ดำเนินโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยี ระหว่างวันที่ 19-21 มิถุนายน 2557 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเอกลักษณ์ขนมไทยโบราณ ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ และกลุ่มแปรรูปอาหารบางเจ้าฉ่า ตำบลบางเจ้าฉ่า อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง ต่อเนื่องจากกิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นไปเมื่อวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2557

มทร.พระนคร สำรวจข้อมูลพื้นที่ชุมชนโครงการคลินิกเทคโนโลยี

มทร.พระนคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี ศูนย์คลินิกเทคโนโลยีสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมเจ้าหน้าที่จากสถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่กลุ่มชุมชนเป้าหมายของโครงการคลินิกเทคโนโลยีในแผนงานการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 3 โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำเนินงาน ก่อนการถ่ายทอดเทคโนโลยีในวันที่กำหนด ณ กลุ่มถนอมอาหารจากปลาบ้านตราชู ตำบลบ้านหม้อ อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี กลุ่มชุมชนผู้ผลิตไผ่เลี้ยงหวาน ตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา และกลุ่มสตรีสหกรณ์เกษไชโยตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2557

สวพ. อบรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดอ่างทอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำนักวิจัยจาก     คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คือ อาจารย์ดวงกมล ตั้งสถิตพร และ อาจารย์ธนภพ โสตรโยม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนาลงพื้นที่เป้าหมายเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดอ่างทอง ในโครงการพัฒนาและยกระดับผู้ผลิต และผู้ประกอบการ กลุ่มอาชีพ “ทำไข่เค็มพอกสมุนไพร” ผลิตภัณฑ์เด่นจังหวัดอ่างทอง เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 ณ หมู่ 2 ตำบลอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง จัดโดย สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอ่างทอง ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

สวพ. ลงพื้นที่ศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดอ่างทอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำนักวิจัยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ได้แก่ อาจารย์กิ่งกาญจน์ พิจักขณา อาจารย์คมเขต เพ็ชรรัตน์ ดร.สาธิต เหล่าวัฒนพงษ์ อาจารย์มยุรี เรืองสมบัติ อาจารย์ดรุณรัตน์ พิกุลทอง และอาจารย์ศิริพันธ์ มิ่งขวัญ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา ลงพื้นที่ศึกษาผลิตภัณฑ์ชุมชนจังหวัดอ่างทอง โดยสำรวจข้อมูลโจทย์วิจัยชุมชน จำนวน 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มไม้ประดิษฐ์เพชรมงคล กลุ่มเรือนไทยจักสานพลาสติก กลุ่มจักสานผักตบชวาบ้านบางตาแผ่น กลุ่มวิสาหกิจแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชนบ้านบางต้นทอง และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทำศาลพระภูมิไม้สักทรงไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2557 กลุ่มที่ 1 กลุ่มไม้ประดิษฐ์เพชรมงคล กลุ่มที่ 2  กลุ่มเรือนไทยจักสานพลาสติก กลุ่มที่ Continue reading

สวพ. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากส่วนเหลือใช้ของต้นและผลเผือกหอม

สถาบันวิจัยและพัฒนา มทร.พระนคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยเรื่อง การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากส่วนเหลือใช้และบกพร่องจากการปลูกของต้นเผือกและผลเผือกหอมชุมชนอำเภอบ้านหมอจังหวัดสระบุรีเพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ระหว่างวันที่ 17 – 20 เมษายน 2557 ณ กลุ่มแม่บ้านเทศบาลบ้านหมอ ตำบลบ้านหมอ อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี และกลุ่มแม่บ้านสารภีร่วมใจ ตำบลบางโขมด อำเภอบ้านหมอ จังหวัดสระบุรี โดยถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูปจากเผือกปาด ได้แก่ เมี่ยงคำเผือกกรอบ เผือกกรอบทรงเครื่อง โดรายากิไส้เผือกแห้ว บัวลอยเผือกไส้งาดำ และเค้กชิฟฟอนเผือก ผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยี จำนวน 40 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์อาหารจากเผือกปาดของชุมชน และเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำผลิตภัณฑ์อาหารจากเผือกเชิงพาณิชย์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครัวเรือนและสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเป้าหมาย

สวพ. ถ่ายทอดเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP จังหวัดอ่างทอง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา พร้อมทีมงาน ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อภิญญา มานะโรจน์ และเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยและพัฒนา ดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีการแปรรูปผลิตภัณฑ์อาหารจากหน่อไม้ ได้แก่ ไส้อั่วหน่อไม้หวาน แหนมหน่อไม้หวาน แก่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่หวาน และการทำน้ำพริกขิงหมูกรอบไข่เค็ม และน้ำพริกคั่วกลิ้งปลา แก่กลุ่มแม่บ้านบ้านมะขาม โดยเป็นการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์กรมการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัย และชุมชน ระหว่างวันที่ 22 – 23 มีนาคม 2557 ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนไผ่หวาน ตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา และชุมชนกลุ่มแม่บ้านบ้านมะขาม ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 25 คน

สวพ. บริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชนจังหวัดอ่างทองและจังหวัดสิงห์บุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์จุฑามาศ พีรพัชระ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา นำทีมผู้บริหาร ได้แก่ คณบดีคณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณบดีคณะศิลปศาสตร์ นักวิจัย และผู้รับผิดชอบงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้แก่ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ ลงพื้นที่ดำเนินโครงการบริการวิชาการสัญจรสู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในพื้นที่จังหวัดอ่างทองและจังหวัดสิงห์บุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้คำปรึกษาและถ่ายทอดเทคโนโลยีองค์ความรู้ด้านงานวิจัยและงานบริการวิชาการสู่ชุมชน เพื่อสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยในการนำผลงานวิจัยและผลงานบริการวิชาการสู่การใช้ประโยชน์เชิงสังคมและเชิงพาณิชย์ รวมทั้งการสำรวจข้อมูล ปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อกำหนดโจทย์วิจัย และนำเสนอโครงการบริการวิชาการแก่สังคมของมหาวิทยาลัย โดยเข้าพบผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อรับทราบนโยบายการพัฒนากลุ่ม OTOP และจัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง มทร.พระนคร กับผู้ประกอบการ OTOP ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ชุมชนแยกตามประเภทของผลิตภัณฑ์ 5 Continue reading